หน่วยที่ 2 โครงการโครงงานการสืบค้นรวบรวมและจัดทำแหล่งเร่ยนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้
วิทยากรประจำหลักสูตร โดย อ.ดร. เจนศึก โพธิศาสตร์
วันที่ 17 เมษายน 2557
ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (Height light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ
วิทยากรประจำหลักสูตร โดย อ.ดร. เจนศึก โพธิศาสตร์
วันที่ 17 เมษายน 2557
โครงงานการพัฒนาทักษะกลุุ่มผู้ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสี
ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
ชื่อผู้จัดทำ
1. นางสาวจันจิรา จันทร์ทอง ประธาน
2. นางสาวนันทรัตน์ อ่วมสอาด รองประธาน
3. นางสาวสรารัตน์ เพชรศิริ กรรมการ
4. นายอิทธิเดช ไทรชมภู กรรมการ
5. นายภากร สมแสวง กรรมการ
6. นางสาวสาธิยา เปรื่องเจริญ กรรมการ
7. นายเทพมนต์ ม่วงกล่ำ กรรมการและเลขานุการ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาโครงงาน
ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้สัมผัสกับศิลปะทุกแขนงในลักษณะต่างๆ กันตลอดเวลา คือ มนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและผู้รับงานศิลปะ ศิลปะเป็นผลงานอันเกิดจากการพากเพียรพยายามของมนุษย์เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคม รูปแบบของผลงานจึงสะท้อนถึงแนวคิด ความเชื่อ สภาพความเป็นอยู่ สภาพสังคมและประเพณีของคนกลุ่มนั้น ยุคนั้น เพื่อเป็นเครื่องยืนยันความมีวัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์กว่าสัตว์โลกทั้งหลายเนื่องด้วยการศึกษาในปัจจุบันเน้นให้นักเรียนเป็นผู้กล้าแสดงออกทางความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ ผู้จัดทำจึงได้ทำการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจ และมีความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์งานศิลปะวาดภาพและระบายสีเข้าร่วมการพัฒนาทักษะ เพิ่มเติมด้านเทคนิควิธีการวาดภาพและระบายสีแบบต่างๆ นอกเหนือเวลาเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะความชำนาญและประสบการณ์ ให้ผู้เรียนมีทักษะในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณภาพ
จากการศึกษาโครงงานที่เกี่ยวข้องพบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความสามารถในการวาดภาพและระบายสีแต่ยังขาดทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ
ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานการพัฒนาทักษะทางด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อพัฒนาทักษะด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสีด้วยแบบฝึกทักษะ
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรต้น : แบบฝึกทักษะด้านศิลปะวาดภาพและระบายสี
ตัวแปรตาม : ผลงานการวาดภาพและระบายสีของนักเรียนที่มีคุณภาพมากขึ้น
การนำเสนอข้อมูล
นำผลงานที่ได้จากนักเรียนมาเปรียบเทียบผลงานภาพวาดและการระบายสีระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การบรรยาย
ขอบเขตในการทำโครงงาน
ประชากร : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสี จำนวน 6 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความสามารถด้านการวาดภาพและระบายสีเพิ่มมากขึ้น
2. นักเรียนมีทักษะและเทคนิคในการวาดภาพและระบายสีเพิ่มมากขึ้น
3. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณภาพ
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงาน ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานตามลำดับ ดังนี้
1. www.obec.go.th/documents/23416
3. นางสาวจันจิรา จันทร์ทอง
วิธีดำเนินโครงงาน
1. คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถเพื่อพัฒนาทักษะการวาดภาพและระบายสี
2. ทำการฝึกทักษะวาดภาพระบายสีในเทคนิคและวิธีการที่ผู้จัดทำได้สร้างขึ้นมาด้วยแบบฝึกทักษะ ทั้งสิ้น 12 ชุด
3. นำภาพวาดจาก Internet มาใช้เป็นต้นแบบในการฝึกทักษะ
ปฏิบัติโครงงาน
ขั้นตอน/กิจกรรม
|
พ.ย.56
|
ธ.ค.56
|
ม.ค 57
|
ก.พ57
|
มี.ค 57
|
1. กำหนดปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย
| |||||
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
| |||||
3. เขียนโครงร่างโครงงาน
| |||||
4. เพิ่มทักษะเทคนิคการวาดภาพระบายสี
| |||||
5. เก็บรวบรวมข้อมูล
| |||||
6. วิเคราะห์ข้อมูล
| |||||
7. สรุปผลและเขียนรายงานโครงงาน
| |||||
8. จัดพิมพ์เข้ารูปเล่ม
| |||||
9. เผยแพร่ผลงานโครงงาน
|
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาโครงงาน
ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้สัมผัสกับศิลปะทุกแขนงในลักษณะต่างๆ กันตลอดเวลา คือ มนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและผู้รับงานศิลปะ ศิลปะเป็นผลงานอันเกิดจากการพากเพียรพยายามของมนุษย์เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคม รูปแบบของผลงานจึงสะท้อนถึงแนวคิด ความเชื่อ สภาพความเป็นอยู่ สภาพสังคมและประเพณีของคนกลุ่มนั้น ยุคนั้น เพื่อเป็นเครื่องยืนยันความมีวัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์กว่าสัตว์โลกทั้งหลายเนื่องด้วยการศึกษาในปัจจุบันเน้นให้นักเรียนเป็นผู้กล้าแสดงออกทางความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ ผู้จัดทำจึงได้ทำการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจ และมีความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์งานศิลปะวาดภาพและระบายสีเข้าร่วมการพัฒนาทักษะ เพิ่มเติมด้านเทคนิควิธีการวาดภาพและระบายสีแบบต่างๆ นอกเหนือเวลาเรียนปกติ เพื่อเสริมสร้างทักษะความชำนาญและประสบการณ์ ให้ผู้เรียนมีทักษะในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณภาพ
จากการศึกษาโครงงานที่เกี่ยวข้องพบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีความสามารถในการวาดภาพและระบายสีแต่ยังขาดทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ
ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานการพัฒนาทักษะทางด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสีด้วยแบบฝึกทักษะ
ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น : แบบฝึกทักษะด้านศิลปะวาดภาพและระบายสี
ตัวแปรตาม : ผลงานการวาดภาพและระบายสีของนักเรียนที่มีคุณภาพมากขึ้น
ขอบเขตของโครงงาน
1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 คน
2. แบบตัวอย่างและผลงานนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความสามารถด้านการวาดภาพและระบายสีเพิ่มมากขึ้น
2. นักเรียนมีทักษะและเทคนิคในการวาดภาพและระบายสีเพิ่มมากขึ้น
3. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณภาพ
บทที่ 2
เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาแบบฝึกทักษะการวาดภาพและระบายสี ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ เพื่อให้การศึกษาค้นคว้าบรรลุตามวัตถุประสงค์
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
2. แนวการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ เรื่องการวาดภาพระบายสี
3. หลักการเกี่ยวกับการสอนศิลปะ
4. แบบฝึกทักษะการวาดภาพและระบายสี
5. การวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
6. การวัดทักษะปฏิบัติ
7. โครงงานที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
1. ความสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม สุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ ดังนั้นกิจกรรมศิลปะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดยตรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ พัฒนากระบวนการรับรู้ทางศิลปะ การเห็นภาพรวม การสังเกตรายละเอียด สามารถค้นพบศักยภาพของตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพได้ ด้วยการมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข
2. วิสัยทัศน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเสริมสร้างให้ชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นช่วยให้มีจิตใจงดงามมีสมาธิ สุขภาพกายสุขภาพจิตมีความสมดุล อันเป็นรากฐานการพัฒนาชีวิตที่สมบูรณ์เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติโดยส่วนตน และส่งผลการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมโดยรวม
3. คุณภาพผู้เรียน
เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะแล้ว ผู้เรียนจะมีจิตใจงดงามมีสุนทรียภาพ รักสวยรักงาม ความเป็นระเบียบ รับรู้อย่างพินิจพิเคราะห์ เห็นคุณค่าความสำคัญของศิลปะ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนในชาติสามารถค้นพบศักยภาพความสนใจของตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพทางศิลปะ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีสมาธิในการทำงาน มีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาในช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4-6) ผู้เรียนจะมีคุณภาพดังนี้
3.1 สร้างและนำเสนอผลงานศิลปะจากจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การสังเกตทางศิลปะ ได้แก่ ทัศนธาตุ องค์ประกอบดนตรี องค์ประกอบนาฏศิลป์ ทักษะในการใช้เทคนิคให้เกิดผลตามความต้องการของตนเอง และอธิบายให้ผู้อื่นรับรู้โดยใช้ศัพท์เบื้องต้นทางศิลปะได้
3.2 รับรู้ทางศิลปะ ได้แก่ทัศนธาตุ องค์ประกอบดนตรี องค์ประกอบนาฏศิลป์ซึ่งสามารถช่วยวิเคราะห์งานศิลปะ และอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจในความสวยงามและความไพเราะของศิลปะได้
3.3 ระบุงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้ อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ปัจจุบันมีผลหรือได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะได้
3.4 นำความรู้ศิลปะสาขาต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้กลุ่มสาระอื่น ๆ
3.5 สนใจสร้างงานศิลปะ มีความสุขกับการทำงานมั่นใจในการแสดงออก ยอมรับความสามารถของผู้อื่น
3.6 ตระหนัก ชื่นชมในคุณค่าของศิลปะ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
4. สาระการเรียนรู้
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
สาระที่ 2 ดนตรี
สาระที่ 3 นาฏศิลป์
5. องค์ความรู้
5.1 ความรู้ ขอบข่าย สัญลักษณ์ แนวคิดทางศิลปะ
5.2 การสร้างสรรค์ และการแสดงออก
5.3 การวิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะ และสุนทรียภาพ
5.4 การประยุกต์ใช้ความรู้ทางศิลปะ
5.5 ศิลปะกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ไทยและสากล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. มาตรฐานการเรียนรู้สาระทัศนศิลป์
6.1 มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์งานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
6.2 มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสำคัญระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมปัญญาไทยและสากล
7. จุดประสงค์ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาค่านิยม เจตคติ พฤติกรรม และบุคลิกภาพเน้นการเป็นคนช่างคิด ช่างทำ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้โดยใช้กิจกรรมศิลปศึกษา เป็นหลักการในการจัดการเรียนการสอน จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้
7.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการเกี่ยวกับความดี ความงาม การรักษาสุขภาพกาย และจิต
7.2 มีความสามารถในการวิเคราะห์ วิจารณ์ แก้ปัญหา มีความสามารถในการแสดงออก และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
7.3 มีความเสียสละ สามัคคี มีวินัย ประหยัด ซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที รักการทำงาน เห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย
7.4 มีความสนใจแสวงหาความรู้ และรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้ความรู้ในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาเพื่อการทำงานและการดำรงชีวิต
7.5 ปรับปรุงตนเองให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาและพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองได้
8. ขอบข่ายเนื้อหาสาระทัศนศิลป์ ดังตาราง 1-2
ตาราง 1 เวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
เนื้อหา
|
อัตราเวลาเรียน
(ชั่วโมง)
|
หน่วยที่ 1 การวาดภาพระบายสี
1.1 เส้นสีที่สร้างสรรค์
1.2 การเขียนภาพให้มีรูปร่างรูปทรง
1.3 ภาพสวยด้วยมือเรา (การจัดภาพ)
1.4 มิติแห่งสีสัน (เทคนิคการทำสีซึม)
1.5 มิติแห่งสีสัน (เทคนิคการพับสี)
1.6 มิติแห่งสีสัน (เทคนิคการเป่าสี)
1.7 สีสันที่งานศิลป์ (ทฤษฎีสี)
1.8 การเขียนภาพจากการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.9 การเขียนภาพจากของจริง
|
14
1
1
1
1
1
1
2
1
|
เนื้อหา
|
อัตราเวลาเรียน
(ชั่วโมง)
|
1.10 การเขียนภาพจากเหตุการณ์ประจำวันและงานประเพณีในท้องถิ่น
1.11 การเขียนภาพจากนิทาน
1.12 การจัดนิทรรศการภาพวาด
1.13 การประเมินผล
|
1
1
1
1
|
ตาราง 2 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 1 - 2 สาระทัศนศิลป์
| ||
มาตรฐาน
|
ป.1-3
|
ป.4-6
|
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1
สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ตาม
จินตนาการ และความคิดสร้าง
สรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
วิจารณ์คุณค่างาน ทัศนศิลป์
ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อ
งานศิลปะ อย่างอิสระ ชื่นชม
และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ
วัน
|
1. สื่อความคิด จินตนาการ
ความรู้สึก ความประทับใจ
ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างสนุก
สนานเพลิดเพลิน
2. สังเกต รับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว
ทัศนธาตุ สร้างสรรค์งาน
ทัศนศิลป์โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความสนใจ
3. ใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมทัศนศิลป์อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
4. แสดงออกถึงความรู้สึกใน
การรับรู้ความงาม
5. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ลักษณะในธรรมชาติ สิ่งแวด
ล้อม ผลงานทัศนศิลป์ของตน
เองและผู้อื่น
6. นำความรู้และวิธีการทางการทัศนศิลป์ไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ และชีวิตประจำวัน
|
1. สื่อความคิด จินตนาการ
ความรู้สึก ความประทับใจด้วยวิธีการต่างๆ อย่างมั่นใจ
2. สำรวจ ทดลอง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์คิดริเริ่มสร้างสรรค์ใช้ทัศนธาตุ โดยใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์ตามความสนใจ
3. เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมทัศนศิลป์ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
4. แสดงออกถึงความรู้สึก
ในการรับรู้ความงามด้วยวิธีการต่างๆตามความ สนใจ
5. แสดงความคิดเห็นอธิบายความหมายของงานทัศนศิลป์ ทัศนธาตุและความงามของศิลปะ
6. นำความรู้และวิธีการทางทัศนศิลป์ไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ และชีวิตประจำวัน
|
ตาราง 2 (ต่อ)
มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 1 - 2 สาระทัศนศิลป์
| ||
มาตรฐาน
|
ป.1-3
|
ป.4-6
|
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.2
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง
ทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างาน
ทัศนศิลป์ ที่เป็นมรดกทาง
วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาไทย และสากล
|
1. รู้ความเป็นมาของสิ่งที่อยู่
รอบตัวที่เกี่ยวข้องกับงาน
ทัศนศิลป์
2. สนใจงานทัศนศิลป์อันเป็น
มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
1. ความเป็นมาและความสำคัญของศิลปะในท้องถิ่นและศิลปะไทย
2. พึงพอใจและยอมรับในภูมิ
ปัญญาของการสร้างงาน
ทัศนศิลป์การสืบทอด
การทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
|
สรุปได้ว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการ ชื่นชมความงาม สุนทรียภาพ ความมีคุณค่า สามารถนำไปพัฒนาตนเองทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่น เปิดโอกาสแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์อย่างอิสระ และเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและสากล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
แนวการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพระบายสี
1. หลักการสอนทั่วไป
บันลือ พฤกษะวัน (2534 : 94-96) ได้กล่าวถึงหลักการเรียนการสอนที่ได้ผล ดังนี้
1. การเลือกเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน
2. จัดลำดับเนื้อหาให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นอันดี
3. ส่งเสริมให้มีการเตรียมตัวนักเรียนก่อนที่จะสอน
4. ใช้การจูงใจที่จะชี้แนะให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียน
5. ให้แบบอย่างหรือตัวอย่างของผลงานในการปฏิบัติเมื่อจบบทเรียน
6. ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด
7. บทบาทของครูผู้สอน ครูเป็นผู้ชี้แนะมากกว่าการบอก
8. การเรียนการสอนที่ดีต้องฝึกฝนหรือฝึกหัด
9. เด็กผู้เรียนย่อมต้องการทราบผลการเรียนของตน
10. ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่ควรพิจารณา
สุจินต์ วิศวธีรานนท์ (2536 : 97-98) กล่าวถึง รูปแบบการสอนโดยทั่วไปประกอบด้วย
ขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้น คือ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
2. การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนก่อนเรียน
3. การวางแผนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผลการเรียน
5. การปรับปรุงการเรียนการสอน
เกษม สุดหอม (2518 : 99) กล่าวถึง หลักการสอนทั่วไปว่า ควรดำเนินการดังนี้
1. สอนสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้
2. สอนจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก
3. สอนจากสิ่งที่มีตัวตน ไปหาสิ่งที่ไม่มีตัวตน
4. สอนจากสิ่งที่พบเห็น ไปหาเหตุผล
5. สอนจากสิ่งที่ง่าย ไปหาสิ่งที่สลับซับซ้อน
6. สอนให้เป็นไปตามธรรมชาติของเด็ก
7. สอนให้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
8. สอนให้สนุกน่าสนใจ
9. สอนโดยครูบอกให้น้อยที่สุด
10. สอนให้นักเรียน เรียนโดยการกระทำ
สรุปได้ว่า หลักการสอนทั่วไปประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียน การวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดผลและประเมินผล เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
2. หลักการสอนวิชาศิลปศึกษา
ชวลิต ดาบแก้ว (2533 : 18-20) สรุปการสอนศิลปศึกษาที่ใช้ในโรงเรียนมี 3 แบบ ดังนี้คือ
2.1 การสอนแบบบอกให้โดยตรง (Direct Method) เป็นวิธีสอนแบบครูบอกให้นักเรียนทำโดยตรง ให้นักเรียนได้ปฏิบัติตามกฎ หรือตามคำแนะนำของครู โดยมีภาพแบบของจริง ได้ผลดีสำหรับนักเรียนที่มีความพร้อมด้านต่าง ๆ สูง
2.2 การสอนแบบแสดงออกอย่างเสรี (Free ExpressionMethod) เป็นวิธีที่ปราศจากการบังคับหรือควบคุม เด็กได้เขียนตามความพอใจ ให้อิสระแก่เด็กอย่างเต็มที่ เด็กจะเลือกวาดภาพและใช้วัสดุอย่างใดก็ได้ ไม่มีกฎข้อบังคับในการวาด เน้นความเพลิดเพลิน วิธีการนี้จะยึดถือกระบวนการมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น
2.3 การสอนแบบมีความมุ่งหมายในการเรียน(Meaningful Art Education) เป็นวิธีสอนที่ทำให้บุคคลมีเสรีภาพเพียงพอ ในด้านอารมณ์และความคิด การสอนนี้มีหลัก 2 ประการคือ 2.3.1 การกระทำนั้นต้องมีความมุ่งหมายเป็นสำคัญ
2.3.2 ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
ในการสอนมีความมุ่งหมายที่จะให้ศิลปะ มีความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและสังคมให้สังคมเห็นว่า ศิลปะมีความสำคัญต่อสังคม การสอนต้องการที่จะพัฒนาการเด็กให้มีความรู้สึกในสิ่งที่ดีงามเป็นรายบุคคลรู้คุณค่าของศิลปะที่มีต่อสังคม ต้องการให้เด็กมีพัฒนาการในความรู้สึกของวัตถุและรูปทรง โดยให้ได้รับการสนับสนุนให้ทำงานเป็นส่วนใหญ่ และให้ผลจนสำเร็จเด็กได้รับการส่งเสริมให้รู้จักความหมายในสิ่งที่เขาเขียนภาพ มากกว่าที่จะให้กฎเกณฑ์ในการเขียนภาพนั้น ๆ
นิรมล สวัสดิบุตร และตีรณสาร สวัสดิบุตร (2534 : 108-120) ได้สรุปการสอนศิลปะไว้ 4 วิธี คือ
1. สอนแบบแสดงให้ดูเป็นขั้นตอน (Directed Teaching)คือ วิธีสอนที่ครูสาธิตการทำงานศิลปะให้นักเรียนดูทีละน้อย และให้นักเรียนทำตามทีละขั้นตอน
2. สอนแบบให้ทำงานโดยอิสระ (Free Expression) เป็นวิธีสอนทีเปิดโอกาส
ให้นักเรียนคิด ตัดสินใจทำงานตามความพอใจของตนเอง มี 4 แบบ คือ
2.1 ครูให้นักเรียนเลือกใช้สื่อที่จะใช้ในการแสดงออกทางศิลปะได้ โดยอิสระ
2.2 ครูกำหนดสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งให้ แต่ให้นักเรียนใช้สื่อนั้นแสดงความรู้สึกนึกคิดเป็นงานศิลปะโดยอิสระ เช่น ให้วาดภาพด้วยสีเทียน
2.3 ครูกำหนดสื่อให้เช่นเดียวกับแบบที่ 2 และกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะให้นักเรียนแสดงออกทางศิลปะไว้ด้วย
2.4 ครูกำหนดสื่อและหัวข้อให้เช่นเดียวกับแบบที่ 3แต่แคบกว่าใช้วิธีเจาะจงกว่าการสอนทั่ง 4 แบบ ครูควรให้แรงจูงใจและแรงกระตุ้นแก่นักเรียน เช่น การฟังเพลง การเล่านิทาน สนทนาถึงเรื่องที่นักเรียนสนใจ ให้ดูภาพหรือผลงานศิลปะอื่น ๆ ทายปัญหา ถกปัญหาให้นักเรียนสังเกตสิ่งรอบตัว เป็นต้น
เลิศ อานันทนะ (2535 : 7-9) กล่าวถึง การสอนศิลปะไว้2 ลักษณะ คือ
1. การสอนแบบมุ่งเน้นการแสดงออกด้านความคิดอย่างอิสระ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกตามความคิดของตนเอง โดยไม่กำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ โดยกำหนดหัวข้อเรื่องให้ครูเป็นเพียงแต่คอยให้กำลังใจอยู่ห่าง ๆ วิธีสอนแบบนี้ไม่มุ่งเน้นฝีมือ แต่ส่งเสริมด้านการแสดงออกด้านความคิด
2. การแสดงออกตามเนื้อหาเรื่องราว ครูควรคำนึงถึงพื้นฐาน วัย เพศ ความรู้ และประสบการณ์ความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ และได้สรุปหลักการสอนศิลปะแบบเซ็นไว้ คือ
2.1 ไม่สอนโดยตรง
2.2 ไม่บอก ชี้แนะแบบยัดเยียด
2.3 ไม่ยึดรูปแบบ กฎเกณฑ์ ข้อถูกผิด
สรุปได้ว่า หลักการสอนศิลปศึกษา ควรสอนโดยเน้นให้นักเรียนได้แสดงออกตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง โดยครูเป็นผู้แนะนำหรือกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการนำสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวของนักเรียนมาเป็นสื่อกระตุ้น ทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ โดยวิธีสอนหลาย ๆ วิธีให้เหมาะสม
3. ความสำคัญของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข (2523 : 43) กล่าวว่า สื่อการสอนมีบทบาทในกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้
1. สื่อกาสอนช่วยจัดและเสริมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สื่อการสอนช่วยให้ครูจัดเนื้อหาวิชาที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก
3. สื่อการสอนช่วยให้ครูแนะนำและควบคุมนักเรียนให้มีความประพฤติในทางที่พึงปรารถนา
4. สื่อการสอนช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ในรูปแบบต่าง ๆ
5. สื่อการสอนช่วยให้ครูสอนได้ตรงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
6. สื่อการสอนช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
7. สื่อการสอนช่วยให้ครูสอนได้รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น
สุรชัย สิกขาบัณฑิต และเสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2538 : 3) กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอน ดังนี้
1. สื่อสามารถทำให้การจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนมีความหมายมากขึ้น นั่นคือ การนำสื่อเข้ามาช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น ได้เห็นหรือสัมผัสกับสิ่งที่เรียนได้อย่างเข้าใจ และยังทำให้ครูมีเวลาให้กับผู้เรียนได้มากขึ้น
2. สื่อสามารถที่จะสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ในการนำเอาสื่อมาใช้กับการศึกษาและการเรียนการสอนนั้น ผู้เรียนจะมีความเป็นอิสระในการเสาะแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อสังคมมากขึ้น เป็นการเปิดทางให้กับผู้เรียนได้เรียนตามขีดความสามารถของเขา สนองในเรื่องความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3. สื่อสามารถทำให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ในปัจจุบันวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งที่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทุกวงการ การนำสื่อเข้ามาใช้กับการศึกษา จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้า โครงงาน ทดลองเทคนิควิธีการแปลกใหม่อยู่เสมอ และมีความสนุกสนานสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงทำให้การจัดการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานของระบบสังคม เจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง
4. สื่อช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น สื่อนับวันจะพัฒนาตัวของมันเองให้มีคุณค่า และมีความสะดวกต่อการใช้มากขึ้น สื่อเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสื่อมีพลังมากเพียงใด ดังนั้นการนำสื่อมาใช้ในการศึกษาจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า การจัดการศึกษานั้นจะมีพลังมากขึ้น
5. สื่อสามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม ในการเรียนรู้ของผู้เรียนมิได้เฉพาะในด้านความรู้เท่านั้น แต่ยังปลูกฝังทักษะและเจตคติที่ดีงามแก่ผู้เรียน ด้วยการนำเอาสื่อมาใช้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง ผู้เรียนได้เห็นสภาพความเป็นจริงในสังคมด้วยตาของเขาเองเป็นการนำโลกภายนอกเข้ามาสู่ห้องเรียน ทำให้ช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับสังคมลดน้อยลง เช่นการเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เป็นต้น
6. สื่อทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา การนำสื่อมาใช้กับการศึกษา ทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารับการศึกษามีมากขึ้น เช่น การจัดการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ทำให้วิถีทางในการเข้าสู่การศึกษาของเขาเหล่านั้นเป็นไปอย่างอิสระเสรีและกว้างขวาง เพื่อความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล ตามขีดความสามารถความต้องการและความสนใจของเขา
4. ความหมายของสื่อการสอน
ตัวกลางที่ช่วยส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้คือ สื่อการสอน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ ดังนี้
สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข (2523 : 43)กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง เครื่องช่วยในการเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อช่วยให้การสอนและการเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กมล เวียสุวรรณ และนิตยา เวียสุวรรณ (2540 : 40) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า หมายถึง วัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์(เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติและทักษะไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในขบวนการเรียนการสอน เพื่อทำให้ครูและนักเรียนเข้าใจสิ่งที่ถ่ายทอดซึ่งกันและกันได้ดี ตรงตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
ไพจิตร์ โชตินิสากรณ์ (2530 : 22) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน ช่วยให้เนื้อหาวิชาที่ยากกลับง่ายขึ้น และเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ พอใจและสนุกสนานในการเรียน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 40) กล่าวว่า สื่อ (Media)โดยทั่วไปหมายถึงตัวกลาง หรือ ระหว่าง (Between) ซึ่งในที่นี้หากพิจารณาในแง่ของการสื่อสารแล้ว สื่อจะหมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ เช่น ภาพยนตร์วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ก็คือ สื่อที่ใช้ในการสื่อสารและเมื่อนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อการเรียนการสอน
กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 79) กล่าวว่า คำว่า สื่อ(Medium Pl.media) เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า “Medium” แปลว่า“ระหว่าง” (Between) หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อการสอน” (Instructional Media)หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียนทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี
สรุปสื่อการสอนหมายถึง วัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติและทักษะไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. แบบฝึกทักษะ
การวาดเส้น
การวาดเส้น เป็นการที่มนุษย์ใช้มือจับ วัสดุ หรือ เครื่องเขียนชนิดต่างๆ เขียน ลาก ขูด ขีด ลงบนกระดาษ หรือ บนพื้นระนาบ เพื่อให้เกิดรูปร่างตามที่ต้องการ และ สร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือ เพื่อบอกกล่าว เสนอแนะ ให้ผู้พบเห็นได้คิด ได้ชื่นชม ได้รับรู้ตามวัตถุประสงค์ การวาดเส้นเป็นผลมาจากควานเข้าใจ และ รู้จักถ่ายทอดที่ฉลาดของมนุษย์โดยมีสมองสั่งการ ซึ่งมีมือทำหน้าที่วาด ด้วยวิธีการ และ เทคนิคต่างๆ ออกเป็นรูปภาพ และ ช่วยสื่อความหมาย ดังนั้นการวาดเส้นที่จะได้ผลงานที่ดี ต้องได้รับการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะฝีมือ และ มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการ องค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ในงานวาดเส้น
เครื่องมือในการวาดเส้น
ดินสอ เป็นเครื่องมือหลัก หรือ เป็นเครื่องมือพื้นฐานของการฝึกที่จะได้ผลดีในระยะ เริ่มต้นในการจับเพื่อการวาดเส้น จะมีข้อแตกต่างจากการจับเพื่อการเขียนหนังสื่อ เพราะในบางเส้นอาจจะต้องออกแรงกด เพื่อการเน้นน้ำหนักของภาพ หรือ ยกเบาให้เกิดน้ำหนักอ่อน
การจับกดเพื่อให้เกิดเส้นมีน้ำหนัก การจับเขียนในลักษณะภาพร่างหรือให้น้ำหนักเบา
เทคนิคพื้นฐานของการวาดเส้นให้ได้ขนาดต่าง ๆ โดยการวางตำแหน่งของปลายดินสอ บนพื้นกระดาษ ใน
ลักษณะของการจับดินสอเอียง หรือ เฉียง จะเกิดความแตกต่างของขนาดเส้นที่ได้ ถ้าจับวาดในแนวดิ่งจะได้เส้นเล็ก ถ้าเอียงมุมลง เส้นจะโตขึ้น หรือถ้าต้องการให้ได้พื้นที่มากแบบระบาย ก็จับดินสอให้เอียงมากขึ้น
ตำแหน่งของปลายดินสอ
ในการฝึกวาดเส้นพื้นฐาน การลากเส้นในลักษณะต่างๆ มีความจำเป็นมากในเบื้องต้น เพราะจะช่วยให้มีความคุ้นเคยกับการจับเครื่องมือในการวาด และมีทักษะในการบังคับทิศทางของการลากเส้น ซึ่งพอจะแบ่งในการฝึก ได้ดังนี้
1. ลากเส้นตรง แนวดิ่ง
จะเป็นการลากเส้นจากบนลงล่าง สลับจากล่างขึ้นบนก็ได้ แต่ต้องบังคับให้เป็นเส้นตรงแนวดิ่งให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน เส้นแนวดิ่งจะให้ความรู้สึก ตั้งมั่นคง
2. ลากเส้นตรงแนวนอน
เริ่มจากซ้ายไปขวา แล้วสลับ ขวามาซ้ายก็ได้ แต่ต้องบังคับมือเส้นตรงได้แนวนอนให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน เส้นแนวนอน จะให้ความรู้สึกราบเรียบ สงบ
3. ลากเส้นตรงแนวเฉียง
การบังคับค่อนข้างจะยากกว่าลากเส้นแนวดิ่ง แต่การฝึกเป็นประจำ และ มีสติรับรู้ขณะลากเส้น ก็จะทำให้บังคับได้ดี ลักษณะเส้นโดยรวมดูมีระเบียบ เส้นเฉียงจะให้ความรู้สึก ไม่มั่นคง ล้ม
4. ลากเส้นตรงสลับแนว
การลากเส้นสลับไปมา หรือ ที่เรียกว่า ซิกเซ็ก เป็นการลากเส้นตรง ผสมผสาน ของเส้นเฉียง เป็นการฝึกลากเส้นที่มีความต่อเนื่องไปมา โดยบังคับเส้นให้ขนาดมีระเบียบ มีจังหวะของความยาวของช่วงเท่ากัน จะทำให้เกิดภาพรวม ที่ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว สลับซับซ้อน
5. ลากเส้นโค้ง และวงกลม
ลากเส้นโค้ง และวงกลม เป็นการฝึกลากเส้นที่ต้องเปลี่ยนแนวการบังคับในการจับเครื่องเขียนที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อให้ได้เส้นขนาน น้ำหนักเส้นคงที่ ไม่ซ้อนทับกัน ลักษณะของเส้น ให้ความรู้สึก อ่อนไหว ลื่นไหล เคลื่อนไหว เมื่อนำไปร่วมกับ เส้นตรงจะให้ความรู้สึกที่ไม่แข็งของภาพ ในควรฝึกลากอยู่เป็นประจำ โดยใช้ทั้งดินสอ และปากกา
6. การลากเส้นรวมผสมผสาน
เป็นการฝึกลากเส้นหลายทิศทาง สลับการใช้ทั้ง เส้นตรง เส้นโค้ง แต่ยังคงรักษา จังหวะ ระยะ ห่างของแต่ละเส้น ให้สม่ำเสมอ ปลายของทุกเส้นลากชนขอบ มีจุดจบของปลายเส้น เป็นการฝึกที่บังคับมือทั้ง ระยะสั้นและ ยาว โดยมีกรอบบังคับอยู่ในตัว ทำให้เกิดความแม่นยำ และสร้างความมั่นใจในการลากเส้นวิธีหนึ่ง ภาพรวมจะให้ความรู้สึกซับซ้อน การประสานมีมิติของการมอง
หลักการของแสง และเงา
การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะมีแสงสว่าง ถ้าขาดแสงหรือไปอยู่ในที่ไม่มีแสง เช่น ในถ้ำ ในห้องที่ปิดสนิท เราก็จะไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น มีแสง จึงมีเงา ในการวาดภาพจึงต้องมี หลักการของแสงเงาเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความสมจริงของวัตถุนั้น ๆ ในการถ่ายทอดเป็นรูปภาพในวัตถุแต่ละชิ้น อาจมีทั้งจุดที่สว่างมาก และ สว่างน้อย ส่วนเงาคือส่วนที่ไม่ถูกแสง อาจจะเกิดจากส่วนตื้นลึก หรือถูกบังแสงก็ได้ เพราะทิศทางของแสง จะตรงกันข้ามกับเงาเสมอ และ มีผลต่อความคมชัดของเงาด้วย
ในการวาดภาพเกี่ยวกับแสงเงา การฝึกใส่น้ำหนัก เป็นสิ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติเป็นพื้นฐาน โดยใช้ดินสอ ระดับ 2B – 4B ไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน สลับกับอ่อนไปเข้มหรือดำ และ สลับทิศทางของเส้นแต่ก็คงน้ำหนักจากเข้มไปอ่อนหรืออ่อนไปเข้ม
ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (Height light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ
ในการวาดเส้นบางภาพ อาจไม่แสดงแสงเงาที่ชัดเจน คือ ไม่อิงกับเวลา เช้า เที่ยง บ่าย ซึ่งต้องแสดงเงาตกทอดตามกาลเวลา ซึ่งอาจเห็นได้จากแสงเงาต้นไม้ อาคาร แต่แสงเงาก็เกิดกับภาพได้ อันเนื่องมาจากวัตถุนั้น ๆ มีตื้นลึก ใกล้ ไกล เพื่อแสดงมิติขอวัตถุนั้น ๆ การใช้น้ำหนักอ่อน เข้มของการวาดเส้น จะให้ความรู้สึกของภาพได้ดี
เทคนิกการลงสีต่างๆ
สีน้ำ WATER COLOUR
สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำ ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงการระบายสีน้ำจะใช้น้ำ เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนลงและไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ จะมีลักษณะใส บาง และ สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำ ๆ ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่าสีน้ำที่มีจำหน่าย ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลายน้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง (Semi-Opaque ) ซึ่งจะมีระบุ ไว้ข้างหลอด สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ
สีโปสเตอร์ POSTER COLOUR
สีโปสเตอร์ เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด การใช้งานเหมือน กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค สามารถ ระบายสีทับกันได้ มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบต่าง ๆ ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว
สีชอล์ค PASTEL
สีชอล์ค เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อ ละเอียดกว่า แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน
สีฝุ่น TEMPERA
สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช สัตว์ นำมาทำให้ละเอียด เป็นผง ผสมกาวและน้ำกาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้ ยางมะขวิด หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา เขียนสีทับกันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป โดยเฉพาะภาพฝาผนัง ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี เนื้อสีจะซึมเข้าไปในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย ไม่ต้องผสมกาวเนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์
ดินสอสี CRAYON
ดินสอสี เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก เนื่องจากมีส่วนผสม อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่าปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้ โดยเมื่อใช้ ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้
สีเทียน OIL PASTEL
สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง มีลักษณะทึบแสงสามารถเขียนทับกันได้ การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง การผสมสี อื่น ๆใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ ถ้าต้องการให้ สีติดแน่นทนนาน จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก
สีอะครีลิค ACRYLIC COLOUR
สีอะครีลิค เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรือ
ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสงและทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง เมื่อแห้งแล้วจะมี คุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี เมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช ( Vanish ) เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกัน การขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด มีราคาค่อนข้างแพง
สีน้ำมัน OIL COLOUR
สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed ) ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์ หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้ สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาวผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่ งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ (Canvas ) มีความคงทนมากและกันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอด ซึ่งมีราคาสูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน แต่ถ้าใช้ น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆ สีน้ำมัน เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย
5. การวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์
กรมวิชาการ (2546 : 75) ได้ให้แนวการวัดและประเมินผล กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ตามสมรรถภาพและพฤติกรรมที่สำคัญที่ควรทำการวัดให้ครอบคลุม สรุปได้ดังนี้
1. ความตรงตามจุดประสงค์
2. ความถูกต้องตามแบบแผนที่ต้องการ
3. ความริเริ่มที่ปรากฏในผลงาน
4. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประณีต สวยงาม
จุดประสงค์การเรียนรู้กลุ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์จะครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย โดยเน้นกระบวนการปฏิบัติงานที่นำไปสู่การมีความรู้สึกอันดีงามและสร้างสรรค์ในงานศิลปะ โดยกำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเป็นเป้าหมายในการเรียนการสอน และมุ่งหวังให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการครบถ้วน เพื่อให้ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ จึงต้องมีเครื่องมือวัดผลทุกครั้ง
ฉะนั้นผู้สร้างเครื่องมือวัดผลควรวิเคราะห์จุดประสงค์เสียก่อนว่าจะวัดพฤติกรรมด้านใดบ้าง เพื่อให้การวัดครอบคลุมจุดประสงค์
เนื้อหาของกลุ่มศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย พื้นฐานงานศิลปะ แบ่งออกเป็น 12 เรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. เรื่อง เส้นกับแสงเงา
2. เรื่อง รูปร่างรูปทรงและพื้นผิว
3. เรื่อง ทัศนธาตุกับการสร้างภาพ
4. เรื่อง การทดลองสี
5. เส้นสายลายไทย
6. ธรรมชาติกับศิลปะ
7. รูปเรขาคณิตสร้างสรรค์
8. ภาพพิมพ์ลายเส้น
9. การเขียนภาพจากเหตุการณ์ประจำวันและงานประเพณีในท้องถิ่น
10. การเขียนภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11. การวาดภาพระบายสี
12. จินตนาการงานศิลป์
6.การวัดทักษะปฏิบัติ
กรอบการวัดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หรือจุดประสงค์การเรียนรู้แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล (ปพ. 6) ของกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสาระทัศนศิลป์ สาระดนตรีและสาระนาฏศิลป์ แม้จะครอบคลุมพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน แต่กิจกรรมหลักคือการปฏิบัติงานดังรายละเอียดต่อไปนี้
6.1 ความหมายของการวัดทักษะปฏิบัตินักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการวัดทักษะภาคปฏิบัติ ดังนี้
สุนันท์ ศลโกสุม (2544 : 65) กล่าวว่า การวัดภาคปฏิบัติ เป็นการทดสอบเพื่อพิจารณาความสามารถในการทำงานได้ตายจุดมุ่งหมาย (Manipulate Objective) หรือเป็นการทดสอบเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficient and Effect) ที่เกิดจากการกระทำหรือจากสถานการณ์ที่ได้กำหนดขึ้น
เผียน ไชยศร (2534 : 37) ได้ให้ความหมายของการวัดทักษะภาคปฏิบัติว่าเป็นการวัดความสามารถของบุคคลในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบุคคลนั้นได้ลงมือปฏิบัติการจัดการกระทำ(Materials or Physical Object) โดยทางกายหรือการรับรู้ทางประสาทสัมผัส
แต่กิจกรรมบางอย่างไม่มีผลงานคงอยู่ให้ตรวจสอบได้ภายหลังการสิ้นสุดกระบวนการทำงาน เนื่องจากผลงานเกิดขึ้นพร้อมกันกับการปฏิบัติงาน ในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องวัดผลงานไปพร้อมกันกับกระบวนการ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ ในบางกรณีอาจวัดและประเมินเฉพาะกระบวนการหรือผลงานแล้วแต่
6.2 จุดมุ่งหมายของการวัด ซึ่งการวัดผลภาคปฏิบัติมีลักษณะดังต่อไปนี้
6.2.1 พฤติกรรมที่ให้นักเรียนแสดงออกอยู่ในรูปของการปฏิบัติ
6.2.2 มีกระบวนการปฏิบัติงานที่วัดได้
6.2.3 มีการใช้วัสดุอุปกรณ์
6.2.4 ลดการใช้ทักษะทางภาษา
6.2.5 มีผลงานในรูปที่วัดได้
6.3 วิธีการวัดผลภาคปฏิบัติ
เผียน ไชยศร (2529 : 43-45) ได้แบ่งวิธีการวัดผลงานภาคปฏิบัติไว้ 3 รูปแบบดังนี้
6.3.1 ให้แสดงความรู้จักต่อสิ่งที่นำมาเสนอหรือกำหนดให้ โดยการระบุบอกจำแนก
หรือจัดหาตัวอย่าง เช่น นำเครื่องยนต์ กล้องจุลทรรศน์มาให้ดู แล้วให้บอกชิ้นส่วนหรือส่วน
ไพศาล หวังพานิช (2523 : 89) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การวัดทักษะภาคปฏิบัติเป็นการวัดความสามารถในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการวัดที่ให้ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมตรงออกมาด้วยการกระทำ โดยถือว่าการปฏิบัติเป็นความสามารถในการผสมผสานหลักการต่าง ๆ ที่ได้รับการฝึกฝนให้ปรากฏออกมาเป็นทักษะของผู้เรียน
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุปความหมายของการวัดทักษะปฏิบัติได้
คือเป็นการวัดความสามารถที่ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมทางความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม
รวมไปถึงกระบวนการในการทำงาน ที่ได้จากการปฏิบัติ
6.3.2 ลักษณะการวัดภาคปฏิบัติ
โดยทั่วไปการวัดผลการปฏิบัติงานมักจะวัดประเมินทั้งกระบวนการและ
จากที่กล่าวมาข้างต้อนวิธีการจัดทักษะปฏิบัตินั้นมีวิธีการหลายวิธี และแตกต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นในการที่เราจะนำมาใช้หรือวิธีใดวิธีหนึ่งมาใช้ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับลุกษณะของงานและวัตถุประสงค์ว่าจะจัดพฤติกรรมการเรียนรู้ระดับไหน อย่างไร
6.4.กระบวนวัดผลภาคปฏิบัติการดำเนินงานในการวัดผลภาคปฏิบัติ ซึ่งมีขั้นตอน คือ
1) วิเคราะห์งาน
2) กำหนดตัวบ่งชี้ของพฤติกรรมที่จะวัด
3) กำหนดน้ำหนักความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ
4) กำหนดวิธีการวัด
5) เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
6) วางแผนดำเนินการสอน
7) เตรียมคำสั่ง คำชี้แจง
8) ทดลองเครื่องมือแล้วปรับปรุง ดังนี้
6.4.1 การวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานเป็นการวิเคราะห์กิจกรรมออกเป็นกิจกรรมย่อยโดยมีข้อกำหนดและมาตรฐานของงานที่จะใช้ในการประเมิน เพื่อระบุการปฏิบัติที่ต้องการ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์งานจะนำไปสู่การกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถที่ต้องการวัด แหล่งข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์งานให้พิจารณาจากระดับของการประเมิน
7. โครงงานที่เกี่ยวข้อง
นายพีระพล ทองประเสริฐ์ ศึกษาเรื่องการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านศิลปะการวาดภาพ
บทที่ 3
ขั้นตอนดำเนินการ
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มตัวอย่าง : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษด้านศิลปะการวาดภาพและระบายสี จำนวน 6 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในโครงงานครั้งนี้ผู้จัดทำใช้ แบบฝึกทักษะในการค้นคว้า ดังนี้
2.1 การฝึกเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นพื้นฐาน
2.1.1 แบบฝึกการวาดเส้น (DRAWING) สัปดาห์ที่ 1-2ครั้งที่ 1-4
ตารางการฝึก
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่1
|
เพื่อฝึกฝนทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เส้นที่มีทิศทางต่าง ๆ
|
แบบฝึกการวาดเส้น เรื่อง การเขียนเส้นในทิศทางต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติ
ฝึกการเขียนเส้นโดยให้ผู้เขียนเส้นในทิศทางต่างๆโดยเริ่มจากเส้นตรงแนวตั้ง – แนวนอน เส้นเฉียงซ้าย – ขวา ให้เขียนซ้ำ เรียงกันให้เป็นแนวเดียวกัน 1แผ่นกระดาษหลังจากนั้นจึงเขียนเส้นในแนวอื่น ๆ โดยผู้เรียนเขียนให้มากทิศทางที่สุด
|
ห้องศิลปะ อาคารประกอบ
|
ครั้งที่2
|
เพื่อฝึกการเขียนรูปร่างต่าง ๆ ตามรูปร่าง รูปทรง และขนาดได้ตามความต้องการ
|
แบบฝึกการวาดเส้น เรื่อง การเขียนรูปร่าง – รูปทรง
การฝึกปฏิบัติ
ฝึกการเขียนรูปร่างต่างๆ เช่นวงกลม สามเหลี่ยม วงรี และรูปทรงอิสระโดยให้เขียนซ้ำ ๆ จนเกิดความชำนาญ
|
ห้องศิลปะ อาคารประกอบ
|
ครั้งที่3
ครั้งที่4
|
เพื่อฝึกการร่างภาพจากวัตถุจริงในแบบต่าง ๆ
|
แบบฝึกการวาดเส้น
เรื่อง การเขียนภาพรูปทรงวัตถุต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติ
1. ครูตั้งรูปทรงวัตถุต่าง ๆ ไว้กลางห้องเรียน
2. ผู้เรียนทดลองร่างภาพจากแบบโดยให้ขนาดของภาพเหมาะสมกับหน้ากระดาษ
3. ผู้เรียนทดลองร่างภาพวัตถุอื่น ๆ ที่กำหนดอย่างน้อย 5ชิ้น
4. ครูวิจารณ์งานร่วมกับผู้เรียน เพื่อหาข้อดี ข้อบกพร่องในการทำงาน
|
ห้องศิลปะ อาคารประกอบ
|
2.1.2 แบบฝึกการระบายสี (PAINTING ) สัปดาห์ที่ 3 – 5 ครั้งที่ 5 – 10
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่5
|
ผู้เรียนศึกษา และมีความเข้าใจเรื่องทฤษฎีสี
|
แบบฝึกการระบายสี เรื่อง ทฤษฎีสี
การฝึกปฏิบัติ 1. ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องทฤษฎีสีจากใบความรู้ และการปฏิบัติให้ดูจากครู 2. ผู้เรียนทดลองใช้สีตามทฤษฎีสีที่ได้ศึกษาจากตัวอย่าง และใบความรู้ |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่6
|
ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการใช้สี
|
แบบฝึกการระบายสี เรื่อง การใช้สีชอล์กน้ำมัน
การฝึกปฏิบัติ 1. ผู้เรียนทำความรู้จักกับคุณสมบัติของสีชอล์ก 2. ทดลองใช้สีชอล์กตามเทคนิคต่างๆ - วิธีการระบายสีชอล์กน้ำมัน - วิธีการผสมสี |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่7
|
ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการใช้สี
|
แบบฝึกการระบายสี เรื่อง การใช้สีไม้
ฝึกการปฏิบัติ 1. ผู้เรียนทำความรู้จักกับคุณสมบัติของสีไม้ 2. ทดลองใช้สีไม้ตามเทคนิคต่างๆ - วิธีการระบายสีและผสมสีไม้ |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่8
|
ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการใช้สี
|
แบบฝึกการระบายสี เรื่อง การใช้สีไม้ระบายน้ำ
การฝึกปฏิบัติ 1. ผู้เรียนทำความรู้จักกับคุณสมบัติของสีไม้ระบายน้ำ 2. ทดลองใช้สีไม้ระบายน้ำตามเทคนิคต่างๆ - วิธีการระบายสี และผสมสีไม้ระบายน้ำ |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่9
|
ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการใช้สี
|
แบบฝึกการระบายสี เรื่อง การใช้สีน้ำ
การฝึกปฏิบัติ 1. ผู้เรียนทำความรู้จักกับคุณสมบัติของสีน้ำ 2. ทดลองใช้สีน้ำตามเทคนิคต่างๆ - วิธีการระบายสีน้ำและผสมสีน้ำ |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่10
|
ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องการใช้สี
|
แบบฝึกการระบายสี เรื่อง การใช้สีโปสเตอร์
การฝึกปฏิบัติ1. ผู้เรียนทำความรู้จักกับคุณสมบัติของสีโปสเตอร์ 2. ทดลองใช้สีโปสเตอร์ตามเทคนิคต่างๆ - วิธีการระบายสีและผสมสีโปสเตอร์ |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
2.2 การฝึกเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นพื้นฐาน
2.2.1 แบบฝึกการวาดเส้น (DRAWING) สัปดาห์ที่ 1 – 2 ครั้งที่ 1 – 4
2.2.1 แบบฝึกการวาดเส้น (DRAWING) สัปดาห์ที่ 1 – 2 ครั้งที่ 1 – 4
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่1
|
เพื่อฝึกทักษะขั้นพื้นฐานในการใช้เส้นที่มีทิศทางต่างๆ
|
แบบฝึกการวาดเส้น เรื่อง การเขียนเส้นในทิศทางต่างๆ
การฝึกปฏิบัติ
ฝึกการเขียนเส้นโดยให้ผู้เรียนเขียนเส้นในทิศทางต่างๆโดยเริ่มจากเส้นตรงแนวตั้ง – แนวนอน เส้นเฉียงซ้าย – ขวา ให้เขียนซ้ำเรียงกันให้เป็นแนวเดียวกัน 1 แผ่นกระดาษ หลังจากนั้นจึงเขียนเส้นในแนวอื่นๆ โดยผู้เรียนเขียนให้มากทิศทางที่สุด
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่2
|
เพื่อฝึกการเขียนรูปร่างต่างๆตามรูปร่าง รูปทรง และขนาดได้ตามความต้องการ
|
แบบฝึกการวาดเส้น เรื่อง การเขียนรูปร่าง – รูปทรง
การฝึกปฏิบัติ
ฝึกการเขียนรูปร่างต่างๆ เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรี และรูปทรงอิสระ โดยให้เขียนซ้ำๆจนเกิดความชำนาญ
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่3
ครั้งที่4 |
เพื่อฝึกการร่างภาพจากวัตถุจริงในแบบต่างๆ
|
แบบฝึกการวาดเส้น เรื่อง การเขียนภาพรูปทรงวัตถุต่างๆ
การฝึกปฏิบัติ1. ครูตั้งรูปทรงวัตถุต่างๆไว้กลางห้องเรียน 2. ผู้เรียนทดลองร่างภาพจากแบบโดยให้ขนาดของภาพเหมาะสมกับหน้ากระดาษ 3. ผู้เรียนทดลองร่างภาพวัตถุอื่นๆที่กำหนดให้อย่างน้อย 5ชิ้น 4. ครูวิจารณ์งานร่วมกับผู้เรียน เพื่อหาข้อดี ข้อบกพร่องในการทำงาน |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
2.3 แบบฝึกการเขียนภาพประเภทต่างๆ แบบฝึกการเขียนภาพเหมือนจริง
2.3.1 ภาพทิวทัศน์ สัปดาห์ที่ 6 – 7 ครั้งที่ 11 – 14
2.3.1 ภาพทิวทัศน์ สัปดาห์ที่ 6 – 7 ครั้งที่ 11 – 14
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่11
|
ฝึกการสังเกตและเก็บอารมณ์ความรู้สึกจากภาพที่เห็นและนำมาถ่ายทอดเป็นรูปภาพที่มีความสวยงาม ถูกต้องตามหลักองค์ประกอบศิลป์
|
แบบฝึกการเขียนภาพเหมือนจริง
เรื่อง ภาพทิวทัศน์ การฝึกปฏิบัติ
1. ครูชี้แจงถึงจุดประสงค์ในการเขียนภาพ และลักษณะการเลือกมุมมองในการเขียนภาพ
2. ผู้เรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 3. ผู้เรียนเลือกภาพถ่ายทิวทัศน์ เพื่อเป็นแบบในการวาดภาพ 4. เขียนภาพตามวิธีการที่ได้เรียนรู้ |
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่12
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 11
|
ห้องศิลปะ
| |
ครั้งที่13
|
ฝึกการสังเกตและเก็บอารมณ์ความรู้สึกจากภาพที่เห็นและนำมาถ่ายทอดเป็นรูปภาพที่มีความสวยงาม ถูกต้องตามหลักองค์ประกอบศิลป์
|
แบบฝึกการเขียนภาพเหมือนจริง
เรื่อง ภาพทิวทัศน์
การฝึกปฏิบัติ
1. ผู้เรียนเลือกมุมมองในการวาดภาพจากสถานที่จริง 2. เขียนภาพตามวิธีการที่ได้เรียนรู้ |
บริเวณโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
|
ครั้งที่14
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 13
|
บริเวณโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
|
2.3.2 ภาพหุ่นนิ่ม สัปดาห์ที่ 8 – 9 ครั้งที่ 15 – 18
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่15
|
ผู้เรียนสามารถเขียนภาพระบายสีภาพเหมือนจริงได้อย่างถูกต้อง
|
แบบฝึกการเขียนภาพเหมือนจริง เรื่อง ภาพหุ่นนิ่งการฝึกปฏิบัติ
1. ครูและผู้เรียนเลือกหุ่นที่จะทำการวาดร่วมกันโดยเลือกหุ่นที่มีรูปทรงง่าย ๆ จัดวางให้เกิดความสวยงาม
2. ร่างภาพให้มีความเหมาะสมกับหน้ากระดาษ มีความสมดุลและเหมือนจริง
3. เก็บรายระเอียดและระบายสี
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่16
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 15
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ | |
ครั้งที่17
|
ผู้เรียนสามารถเขียนภาพระบายสีภาพเหมือนจริงได้อย่างถูกต้อง
|
แบบฝึกการเขียนภาพเหมือนจริง เรื่อง ภาพหุ่นนิ่ง
การฝึกปฏิบัติ
1. ผู้เรียนเลือกหุ่นที่จะทำการวาดร่วมกัน
2. ร่างภาพให้มีความเหมาะสมกับหน้ากระดาษ มีความสมดุล และเหมือนจริง
3. เก็บรายละเอียดและระบายสี
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่18
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 17
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
2.3.3 แบบฝึกการเขียนภาพแบบตัดตอน (DISTORTION ) การเขียนภาพบิดเบือนจากของจริง ตัดทอนรูปร่าง สี แสงเงา ให้เหลือเฉพาะส่วนที่สำคัญบางส่วน เพื่อความสวยงามและสื่อสารเข้าใจง่ายสัปดาห์ที่10–11ครั้งที่19–22
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่19
|
ผู้เรียนฝึกสังเกตและตัดทอนรายละเอียดของภาพ
|
แบบฝึกการเขียนภาพแบบตัดทอน เรื่อง ภาพคน
การฝึกปฏิบัติ
1. ผู้เรียนจับคู่กับเพื่อน
2. ให้ผู้เรียนสังเกตโครงหน้า สัดส่วน ระยะของอวัยวะบนใบหน้าของเพื่อน
3. ผู้เรียนเขียนภาพของเพื่อนในลักษณะการ์ตูนโดยตัดทอนส่วนที่เป็นรายละเอียดออกไป
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่20
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 19
การฝึกปฏิบัติปฏิบัติซ้ำโดยการเปลี่ยนคู่วาด
|
ห้องศิลปะอาคารประกอบ
| |
ครั้งที่21
|
ผู้เรียนฝึกสังเกตและตัดทอนรายละเอียดของภาพ
|
แบบฝึกการเขียนภาพแบบตัดทอน
เรื่อง ภาพสัตว์และวัตถุต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติ
1. ให้ผู้เรียนสังเกตโครงสร้างสัดส่วนของภาพสัตว์และวัตถุต่าง ๆ
2. ผู้เรียนเขียนภาพสัตว์และวัตถุต่าง ๆโดยตัดทอนส่วนที่เป็นรายละเอียดออกไป
|
ห้องศิลปะอาคารประกอบ
|
ครั้งที่22
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 21
การฝึกปฏิบัติ
ปฏิบัติโดยการเปลี่ยนภาพที่ตัดทอนไปเรื่อย ๆ
|
ห้องศิลปะอาคารประกอบ
|
2.4 ฝึกปฏิบัติการสร้างงานโดยใช้เทคนิคการใช้สีและอุปกรณ์ต่างๆ สัปดาห์ที่ 12 – 14 ครั้งที่ 23 – 28
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่
23
|
ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคในการใช้สีประเภทต่าง ๆ เขียนภาพได้
|
แบบฝึกการสร้างผลงานโดยใช้เทคนิค สี และอุปกรณ์แบบต่างๆเรื่อง สีชอล์ก การฝึกปฏิบัติผู้เรียนเขียนภาพโดยใช้สีชอล์กตามเทคนิคและลักษณะของตนเอง
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่
24
|
ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคการใช้สีประเภทต่าง ๆ เขียนภาพได้
|
แบบฝึกการสร้างผลงานโดยใช้เทคนิค สี และอุปกรณ์แบบต่าง ๆเรื่อง สีไม้และสีไม้ระบายน้ำ
การฝึกปฏิบัติผู้เรียนเขียนภาพโดยใช้สีไม้และสีไม้ระบายน้ำตามเทคนิคและลักษณะของตนเอง
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่25
|
ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคการใช้สีประเภทต่าง ๆ เขียนภาพได้
|
แบบฝึกการสร้างผลงานโดยใช้เทคนิค สี และอุปกรณ์แบบต่าง ๆเรื่อง สีน้ำ
การฝึกปฏิบัติผู้เรียนเขียนภาพโดยใช้สีน้ำตามเทคนิคและลักษณะของตนเอง
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่
|
จุดประสงค์
|
เรื่องและขั้นตอนการปฏิบัติ
|
สถานที่
|
ครั้งที่26
|
ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคการใช้สีประเภทต่าง ๆ เขียนภาพได้
|
แบบฝึกการสร้างผลงานโดยใช้เทคนิค สี และอุปกรณ์แบบต่าง ๆเรื่อง สีโปสเตอร์
การฝึกปฏิบัติผู้เรียนเขียนภาพโดยใช้สีโปสเตอร์ตามเทคนิคและลักษณะของตนเอง
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่27
|
ผู้เรียนสามารถใช้เทคนิคการใช้สีแบบผสมผสานในการวาดภาพได้
|
แบบฝึกการสร้างผลงานโดยใช้เทคนิค สี และอุปกรณ์แบบต่าง ๆเรื่อง การใช้สีแบบผสมผสาน
การฝึกปฏิบัติผู้เรียนเขียนภาพโดยใช้สีหลายประเภทในการระบายแบบผสมผสานกันตามเทคนิคและลักษณะของตนเอง
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
ครั้งที่28
|
กิจกรรมต่อเนื่องจากครั้งที่ 27
|
ห้องศิลปะ
อาคารประกอบ |
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังตาราง 3
ตาราง 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
สัปดาห์ที่
|
วัน เดือน ปี
|
ชั่วโมงที่
|
รายการที่เก็บข้อมูล
|
1
|
14 ธ.ค. 56
|
3
|
ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบ 30 ข้อ
|
1
|
15 ธ.ค. 56
|
4-5
|
ทดลองภาคสนาม กับนักเรียน30 คน
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 1 - 2
|
2
|
21 ธ.ค. 56
|
4-5
|
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 3 - 4
|
2
|
22 ธ.ค. 56
|
4-5
|
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 5 - 6
|
3
|
28 ธ.ค. 56
|
4-5
|
ใช้แบบฝึกทักษะ 7 (ชุดนี้ใช้ 2 ชั่วโมง)
|
3
|
29 ธ.ค. 56
|
4-5
|
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 8-9
|
4
|
3 ม.ค. 57
|
4-5
|
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 10-11
|
4
|
4 ม.ค. 57
|
4-5
|
ใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 12 และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 30 ข้อ
|
5
|
5 ม.ค. 57
|
5
|
วัดความพึงพอใจของนักเรียนแต่ละชุด
|
การเก็บรวบรวมข้อมูลมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. นำเครื่องมือที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเวลาในปฏิทินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบฝึกทักษะ ดังนี้
1.1 ดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องละ 2 ชั่วโมง ตรวจและเก็บคะแนนผลการปฏิบัติตามกิจกรรมแต่ละเรื่อง จนครบ 12 ชุด
1.2 ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ในแต่ละเรื่องนั้น
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ประเมินทักษะการปฏิบัติงานและกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน ระหว่างเรียน
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามลำดับขั้นตอน
ดังนี้
1. คำนวณค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
2. วิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของบทเรียนใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การวาดภาพระบายสี
ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3. วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนใช้แบบฝึกทักษะ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ
1.1 หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง การวาดภาพระบายสี โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้สูตรดัชนี
ค่าความสอดคล้อง Index of Item Objective Congruence (IOC) (สมนึก ภัททิยธนี. 2548 :
220-221) ดังนี้
เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบ
กับจุดประสงค์กับเนื้อหาหรือระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์
N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
สถิติพื้นฐาน ได้แก่
1. ร้อยละ (Percentage)
2. ค่าเฉลี่ย (Mean)
3. การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น